โรคหวัด


                                  
                 
สาเหตุของโรคหวัด

การดูแลสุขภาพในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ  อย่างเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว  ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นหวัด  คัดจมูก  น้ำมูกไหล  คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าเกิดมาแล้วไม่เคยเป็นหวัด  แต่หลายคนคงจะสงสัยว่าทำไมเราถึงเป็นหวัดกันได้ง่ายดาย  แค่การเปลี่ยนแปลงของอากาศเท่านั้นนะหรือ
จริงๆ แล้ว หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน  โดยมีไวรัสเกือบ  200  ชนิด ที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้  โดยเชื้อไวรัสแพร่กระจายทางอากาศ  จะติดเชื้อต่อเมื่อเรามีภูมิคุ้มกันต่ำ  เช่น  อดหลับอดนอน  พักผ่อนน้อย  เครียด  แล้วผนวกกับการที่เจอภาวะความเย็นที่ทำให้ภูมิคุ้มกันโพรงจมูกลดลง  จึงทำให้มีการติดเชื้อไวรัสตามมา  แล้วถ้าหากปล่อยไว้เรื้อรัง  แบคทีเรียก็จะมาซ้ำเติมให้มีน้ำมูกและเสมหะที่เป็นสีเหลือง  สีเขียว  ติดเชื้อมากขึ้น
จากไวรัสกว่า  200  ชนิด  ในการเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อไวรัสเพียงหนึ่งชนิด  เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดเฉพาะชนิดนั้นเพียงชนิดเดียว  เมื่อเป็นหวัดครั้งต่อไปเราจะติดเชื้อหวัดอีกชนิดหนึ่ง  วนเวียนไปเรื่อยๆ  ดังนั้น  คนเราจึงเป็นไข้หวัดได้บ่อย
สรุป ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น (ได้แก่ จมูกและคอ)  ติดต่อกันได้ง่ายด้วยการอยู่ใกล้ชิดกัน  รับเชื้อจากละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอ  จาม  หรือหายใจรด


อาการของไข้หวัด

                ผู้ใหญ่จะมีอาการจาม  น้ำมูกไหลมาก่อน  อ่อนเพลีย  ปวดศีรษะเล็กน้อย  แต่มักไม่ค่อยมีไข้  เชื้อจะแพร่กระจายจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย  2-3 ชั่วโมง และหมดลงภายใน 2 สัปดาห์  บางรายอาจรุนแรง  เช่น อาการปวดหู  เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง  ยางรายมีเยื่อบุตาอักเสบ  เจ็บคอกลืนลำบาก  โรคมักเป็นไม่เกิน 2- 5 วัน  แต่อาจจะมีน้ำมูกไหลนานถึง  2  สัปดาห์
                ส่วนในเด็กเล็กอาจจะรุนแรง  และมักจะกลายเป็นหลอดลมอักเสบ  และปอดบวม


เคล็ดลับห่างไกลหวัด

    1.ป้องกันเชื้อใหม่  :  ไม่ให้เข้าเพิ่มเติม  ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย  เท่านี้ก็ลดปริมาณเชื้อโรคได้กว่า  50  เปอร์เซ็นต์แล้ว  เชื้อใหม่จะได้ไม่ต้องไปเจอกับเชื้อเก่าในรำคอเรา  แล้วแพร่พันธุ์กันอย่างสนุกสนาน
    2.ฆ่าเชื้อเก่า : ด้วยการดื่มน้ำอุ่น  รับประทานอาหารอุ่นๆ  ร้อนๆ  แต่ไม่กรอบ  เพราะมันจะระคายคอ  แล้วถ้าเป็นหนักถึงขนาดต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ  ก็คงจะต้องปฏิบัติตามที่แพทย์ระบุไว้ด้วย


สรุปวิธีการติดต่อ
มีดังนี้

     1. มือของเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อจากเสมหะของผู้ป่วย  หรือสิ่งแวดล้อม  แล้วขยี้ตา  หรือนำเข้าทางปาก
     2.หายใจเอาเชื้อที่ผู้ป่วยไอออกมา
     3. หายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศ


วิธีการรักษาตนเองเบื้องตน

     1.ไม่มียารักษาเฉพาะ  หากมีไข้ก็ให้ยาลดไข้พาราเซตามอล  ห้ามให้แอสไพรินในกรณีที่ไข้สูงมากเนื่องจากว่า  หากเป็นไข้เลือดออก  แอสไพรินจะทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่มและเลือดหยุดยากส่วนยาอื่นไม่ว่าจะเป็น  ยาลดน้ำมูก  ยาแก้ไอ  เป็นแค่รักษาตามอาการเท่านั้น
     2.ให้พักและดื่มน้ำมากๆ  ต้องนอนมากๆ ด้วย
     3. ให้บ้วนปากและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ
โดยทั่วไปใช้เวลา  2-4 วันหลังจากนั้นจะดีขึ้น  โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือหูชั้นกลางอักเสบ  ต้องได้รับยาปฏิชีวนะ


คุณรู้หรือไม่ว่า

     1. เด็กเป็นหวัด  เช็ดตัวอย่างไรให้ถูกวิธี
      ขั้นตอนแรกต้องถอดเสื้อผ้าเด็กออกให้หมด  ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ  น้ำไม่ต้องร้อนหรือเย็นจนเกินไป  เช็ดตัวเด็กจากปลายแขน  ปลายขา  เข้าสู่หัวใจ ขัดแรงๆ เพื่อเปิดรูขุมขน  ผิดจะแดง  แต่เป็นการระบายความร้อน  เพราะผ้าขนหนูไม่ได้ทำให้เด็กบาดเจ็บ  ไม่ควรแปะแผ่นแปะลดความร้อน  เพราะบดบังการระบายความร้อน  แล้วอย่าตกใจเวลาที่เด็กร้อง  หลังจากเช็ดแล้วเด็กจะสั่นเล็กน้อยเพื่อปรับอุณหภูมิ  แล้วค่อยสวมเสื้อผ้า  รับประทานยาลดไข้

    2. มีเครื่องดื่มอะไรแก้โรคได้บ้าง

      น้ำอุ่นทุกชนิด  ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีภูมิคุ้นกันที่ดีขึ้น  จึงป้องกันการติดเชื้อที่มากขึ้นได้  แต่โดยเฉพาะน้ำผึ้งผสมมะนาวอุ่นๆ  ช่วยบำรุงเส้นเสียง  ทำให้หลอดเสียงกลับชุ่มชื้น  ลดความแห้งกร้าน  และกลับมาเสียงดีเป็นดั่งเดิม

     3.  สมุนไพรใดบ้างรักษาโรคหวัด
      สมุนไพรรักษาโรคหวัด  ยกตัวอย่างเช่น  ขิง ข่า  ตะไคร้  พริก  ฟ้าทะลายโจร  หอมแดง  ส่วนผลไม้ก็พวกที่มีวิตามินซีสูงมากๆ เช่น ฝรั่ง  ส้ม  มะขามป้อม  เป็นต้น
      ดังนั้น  เมนูที่แนะนำ  ให้รับประทานในช่วงเป็นหวัดก็คือ  ต้มยำกุ้ง ทานอุ่นๆ  ร้อนๆ  ไออุ่นของอาหาร  และความร้อนของสมุนไพรไทย  จะช่วยบรรเทาอาการของหวัดได้ดีอย่างเยี่ยมยอด
      ว่านหอมแดง  นำส่วนหัวไปบดๆ แปะหน้าผากเด็กที่เป็นไข้  ช่วยลดไข้  และนอกจากนี้ยังช่วยรักษาแผลติดเชื้อได้ดีด้วย

     4. ทำไมตากฝนถึงเป็นหวัดแต่อาบน้ำฝักบัวไม่เป็นหวัด
      นั่นสินะ  ในเมื่อหวัดแพร่กระจายทางละอองอากาศ  แล้วทำไมเราจึงไม่เป็นหวัดเมื่อเราอาบน้ำฝักบัว  เพราะร่างกายค่อยๆปรับตัว  ปรับอุณหภูมิให้มันไม่เย็นโพรงจมูกจนเกินไป  และในละอองของน้ำฝักบัว  ไม่ได้สกปรกแบบละอองฝนที่ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีต่างๆ  ดังนั้น  หากตากฝนแล้วกางแค่ร่มก็จะป้องกันเปียก  หากฝนสาด  แต่ถ้ามีละอองเชื้อโรคเข้ามาที่โพรงจมูกก็จะยังติดหวัดได้  ที่เยื่อบุจมูกชื้นก็เพราะว่าละอองฝนทำให้เกิดความชื้น  หากปิดผ้าไว้ก็ไม่ชื้น ก็ไม่เกิดหวัด

     5. ปิดจมูกแล้วทำไมไม่หายหวัด
      บางท่านดื้อกับหมอ  ทั้งๆที่หมอพยายามให้ดูแลตัวเองโดยไม่ต้องเน้นการรับประทานยา  ทำง่ายๆ แค่อดทน  สวมผ้าปิดจมูกก็บอกว่าหายใจไม่ออก  น่าแปลกเหมือนกัน ทั้งๆ ที่แพทย์บางสาขาวิชาที่ต้องเข้าห้องผ่าตัดเป็นระยะเวลานาน  ผ่ากันเป็นวันๆ  ต้องสวมชุดปลอดเชื้อ  สวมหน้ากากอนามัย  ก็ยังไม่มีแพทย์ท่านใดที่ขาดอากาศหายใจแล้วเสียชีวิต  ตรงกันข้ามเคยได้ยินแต่ข่าวที่เสียชีวิตเพราะติดไข้หวัด 2009
      คนไข้ที่บอกว่าตัวเองสวมผ้าปิดจมูก  แต่พอมาพบหมอที่คลินิก  ดันไม่ใส่มาด้วย  แล้วก็หลอกหมอว่า  ลืมไว้ที่บ้าน  หารู้ไม่ว่า  ทุกวินาทีที่คุณเปิดโอกาสให้เชื้อโรคเข้ามากล้ำกรายคุณนั้น  จะทำให้คุณป่วยและเพลียมากขึ้น  และอีกอย่างเชื้อโรคที่โรงพยาบาล  หรือคลินิกก็มักจะมีแต่เชื้อที่ดื้อยารักษายากๆ  ไม่ได้ปลอดภัยไปกว่าเชื้อตามบ้านเสียด้วยซ้ำ  เค้าถึงบอกกันว่า อย่าให้เด็กอ่อน  หรือคนชรา  หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ  ที่ไม่ได้ป่วยอะไร  ไปเดินเล่นเที่ยวในโรงพยาบาล
      ทีนี้ทำไมปิดจมูกแล้วถึงไม่หาย  ก็พอหมอใจดี  แจกหน้ากากอนามัยให้สวมปิดจมูกโชว์หมอเลยในห้องตรวจ  มันก็เผยความจริงออกมาว่า  สวมใส่กันไม่เป็น  บางรายใส่ปิดแค่ปากโผล่จมูกออกมา  (นั่นมันน่าจะเรียกผ้าปิดปาก  มากกว่าผ้าปิดจมูก)  บางรายใส่เอาด้านที่มีสี  (ไม่ว่าจะฟ้าหรือเขียว)  เข้าไปด้านในจมูก  ซึ่งอาจทำให้ฉุนและระคายเคืองโพรงจมูกจากสีของหน้ากากได้อีก  บางรายใส่ผิดเข้าไปใหญ่  เอาโครงเหล็กที่ควรจะสวมไว้บริเวณดั้ง  มาใส่อยู่ใต้คางซะอย่างนั้น  แล้วก็มาบอกหมอว่า  หนูปิดประจำ  หนูปิดตลอด  แค่นี้ก็หลอกหมอไม่ได้แล้ว
      แล้วควรจะปิดนานแค่ไหน  ปิดตอนไหน  เวลาไหนบ้าง  อันนี้ต้องไปถามเชื้อโรค  ในเมื่อเราต้องการป้องกันเชื้อโรค  ก็ต้องรู้ว่าเค้าจะอยู่เวลาไหน  เค้าจะอยู่ที่ใด  คำตอบก็คือ  เค้ามีอยู่ทุกที่  แม้กระทั้งห้องนอน  มีอยู่ทุกเวลา  เพราะฉะนั้นการสวมหน้ากากอนามัยหรือผ้าปิดจมูกที่ถูกต้อง  จึงควรสวมตลอดเวลา  ไม่ว่าจะนอน  ยืน  เดิน  นั่ง  จนกระทั่งหายป่วย  อนุญาตให้ถอดออกเวลาเดียว  ก็คือ  เวลารับประทานอาหาร
      ถ้ากลัวว่ามันจะอึดอัดมาก  นอนไม่สบาย  อนุญาตให้หยดยาหม่องน้ำลงไปบนผ้าได้เลย  แล้วสูดดมเข้าไป  มันก็โล่งจมูกได้ดีอีกแบบ

     6. กินยาอย่างเดียวทำไมไม่หาย
      ส่วนใหญ่แล้วการติดเชื้อหวัดจะเป็นเชื้อไวรัส  แล้วยาฆ่าเชื้อที่เรารับประทานกันมักจะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  จึงฆ่าไวรัสไม่ค่อยได้  ยกเว้นยาฉีดแก้ไข้หวัดใหญ่  ซึ่งมันก็อาจทำให้เราดื้อยาหรือป่วยง่ายขึ้นได้เช่นกัน  แต่ถึงจะทานยามากขนาดไหน  อย่างไรก็ตามมันก็แค่ปลายเหตุ  เพราะต้นเหตุคือการไม่รับเชื้อเพิ่มเข้าไปสมทบกับเชื้อเดิมนั่นเอง  และเดี๋ยวนี้การรับประทานยาฆ่าเชื้อบ่อยๆ นอกจากจะทำให้ตับและไตทำงานหนัก  ยังส่งผลให้บางคนแพ้ยาถึงขนาดช็อกเอาเสียได้  เพราะหวัดส่วนใหญ่หายได้เองใน  14  วัน  ถ้าไม่ติดเชื้อเพิ่มเติมและภูมิคุ้มกันดีพอ  มันก็จะช่วยฟื้นฟูร่างกายมาเอง  แต่ถ้าสวมผ้าปิดจมูกร่วมด้วย  รับรองว่าไม่เกิน 3 วัน  ก็จะกลับมาสดใสได้  ดังนั้น  หวัดที่ควรรับประทานยาฆ่าเชื้อก็คือ  กรณีที่มีทอนซิลโต  เป็นหนอง  ต่อมน้ำเหลืองโต  หรือเป็นมานานเรื้อรัง  แล้วไม่หาย  แต่จะเพิ่มอีกกรณี  คือพวกภูมิคุ้มกันต่ำ  เช่น  เด็ก  คนชรามากๆ  หรือเป็นเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเลือดสูง  และหมายรวมถึงพวกที่แนะนำยาก  หัวโบราณ  ถ้าหมอไม่ให้ยาฆ่าเชื้อแปลว่าหมอรักษาไม่ได้  ไม่เก่ง  ก็จำต้องยอมให้เธอเหล่านี้ไปด้วย

    7. ออกกำลังกายทำให้หายหวัดได้ไหม
      จริงคะ  การออกกำลังกายทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น  ก็ป่วยเป็นหวัดได้ยากขึ้น  แต่ไม่ใช่มาหักโหมเพิ่มภูมิคุ้มกันในตอนที่เป็นหวัด  เราควรจะสะสมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ  30 นาที  อาทิตย์ละ  ครั้ง  ไม่ต้องออกกำลังกายที่หนักหน่วง  รุนแรงอะไรมาก  แค่มีเวลาแกว่งแขนหลังรับประทานอาหารมื้อละ  20  นาที  ถ้าเรารับประทานอาหาร  มื้อ  ก็ได้ไปแล้วออกกำลังกายวันละ  60  นาที  (ชั่วโมง)

     8.  ฉีดวัคซีนแก้ไข้หวัดใหญ่ดีไหมหมอ
                      ดีสิค่ะ วัคซีนไข้หวัดใหญ่แต่ละปี  นักวิทยาศาสตร์จะเลือกเชื้อที่คิดว่ารุนแรง  และทำให้คนเสียชีวิต  เอามาผลิตสารสกัดเพื่อฉีดเข้าไปให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน  แต่จะเหมาะกับคนบางประเภทเท่านั้น  เช่น  ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ  หรือมีโรคประจำตัว นั่นเอง  ได้แก่
1. ผู้สูงอายุตั้งแต่  65  ปีขั้นไป
2เด็กที่มีอายุระหว่าง  6  เดือน ถึง ปี
3. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์มากกว่า  7   เดือน
4ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน  100  กิโลกรัม
5ผู้เป็นโรคพิการทางสมอง
6 . ผู้มีโรคประจำตัว  เช่น  ปอดอุดกั้น  หอบหืด  หัวใจ  หลอดเลือดสมอง  ไตวาย  เบาหวาน  ทาลัสซีเมีย  ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง  และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
7. บุคลากรทางการแพทย์
      
        หลังจากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้ว  ไม่ได้หมายความว่าจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีพ  เพราะเราฉีดแค่เชื้อ  ใน  200  กว่าชนิดของเชื้อหวัดนั่นเอง  ถ้าหากเราลืมดูแลตัวเองรักษาสุขภาพ  มันก็ยังสามารถป่วยเป็นหวัดได้อีก  เว้นเสียแต่ว่าฉีดวัคซีนสัก  200  กว่าเข็ม  จนครบทุกเชื้อ  และร่างกายพรุนไปหมด

     9. เป็นหวัดทั้งที  ขอฉีดยาเลยได้ไหมจะได้หายไวๆ
      เป็นความเข้าใจผิดนะคะ  เพราะการดูแลสุขภาพ  พักผ่อน  สวมหน้ากากอนามัย  ดื่มน้ำอุ่น  ยังเป็นสิ่งที่สำคัญเสียกว่า  หากมาพบแพทย์แล้ว  ถ้าพบติดเชื้อจริงๆ  แพทย์จึงพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อ  ถ้ารับปะทานอาหารรอบแรกแล้วไม่หาย  รอบที่สองแล้วก็ยังไม่หาย  รอบที่สามก็อาจจะเปลี่ยนชนิดของยา  ถ้าไม่หายบางท่านจึงพิจารณาให้ยาฉีด  เพราะถ้าไม่หายอีกอาจจะต้องนอนโรงพยาบาล
      แต่หากเริ่มต้นการรักษาด้วยการฉีดยาเลย  นั่นหมายความว่า  เราปฏิเสธการกินยา  ดังนั้น  คราวต่อไปเมื่อป่วยขึ้นมาใหม่ก็ต้องเริ่มขั้นฉีดยา  หรือนอนโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว

     10. อากาศหนาวหรือเปลี่ยนแปลงจะทำให้เป็นไข้หวัดหรือไม่
                      อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ร่างกายอ่อนแอ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออากาศหนาว  ภูมิต้านทานในโพรงจมูกจะอ่อนแอลง  ทำให้ติดหวัดได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

     11.วิตามินซีรักษาหวัดได้หรือไม่
        วิตามินซีช่วยเสริมความแข็งแรงของหลอดเลือด  แถมยังช่วยให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น  เพราะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระมากมาย  การรับประทานวิตามินซีจึงช่วยให้หายหวัดได้  ควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว  หรือผักที่มีสีเขียว  ก็จะดีไม่น้อย


สรุปวิธีการป้องกันโรคหวัด

     1. หลีกเลี่ยงที่ชุมชน  เช่น  โรงภาพยนตร์  รถไฟฟ้า  ถ้าจำเป็นต้องไปก็ใส่หน้ากากปิดปากและจมูก
     2. ล้างมือบ่อยๆ ให้สะอาด
     3 ไม่เอามือเข้าปาก  หรือขยี้ตาเพราะอาจจะนำเข้าสู่ร่างกายได้
     4. ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดผู้ที่ป่วยเป็นโรคเป็นเวลานาน


ตัวอย่างของเคสคนไข้ เฮฮา

                เคสนี้มาเป็นคู่  เป็นสามีภรรยา  เป็นหวัด เป็นๆ  หายๆ  สามีหายแล้ว  แต่ภรรยาไม่ยอมหายซะที  โชคดีว่าตรวจร่างกายแล้วปอดยังไม่ติดเชื้อ  ก็เลยลองซักประวัติเพิ่มเติมอีกซะหน่อย           
                ที่หมอแนะนำให้สวมผ้าปิดจมูก  ได้สวมกันไหม
                “สวมค่ะ
                “ใช่ครับ  ผมก็เห็น  ผมสวม  เค้าก็สวม
                แต่ตอนที่เข้ามาห้องตรวจทั้งสองคนก็ไม่ได้พกผ้าปิดจมูกมาด้วย  นั่นก็หมายความว่าอาจสวมแค่บางเวลา  ไม่เป็นไร  ไหนลองถามเพิ่มเติมอีกหน่อยดีกว่า
                แล้วผ้าที่สวมน่ะ  เปลี่ยนทุกวัน  ซักทุกวัน  ใช้สลับผืนกันไหมครับ
                “ซักค่ะ  ซักทุกวัน  อย่างเมื่อวานฉันก็ซัก  วันนี้ก็เลยเอาผ้าของสามีมาสวมแทน
                “อ่อ  อย่างนี้นี่เอง
                รู้แล้วล่ะครับ  ที่ป่วยแล้วไม่หาย  ถึงแม้จะเปลี่ยนผ้า  ซักป้าทุกวัน  แต่ดันเอาผ้าปิดจมูกของสามีที่เพิ่งหายหวัดมาสวมแทนก็รับเชื้อของสามีเข้าไปอย่างเต็มๆ

                เคสนี้เลยต้องแนะนำกันยกใหญ่  ก่อนจะปิดประเด็นกันไป


ที่มา

รู้ทันโรค   ไม่ป่วย
พิมพ์ครั้งที่  พฤษภาคม  2556    
นักเขียน : นพ.สิทธา  ลิขิตนุกูล
จำนวน  216  หน้า
ราคา  169  บาท

13 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  2. ได้ความรู้เพียบ

    ตอบลบ
  3. ข้อมูลน่าสนใจมากค่ะ

    ตอบลบ
  4. สาระดีมาก ได้ประโยชน์มาก

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหามีประโยชน์มากเลย ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  7. ได้ความรู้มาก ต้องระวังเเล้วค่ะ

    ตอบลบ
  8. อากาศแปรป่วนบ่อย ต้องดูแลสุขภาพ

    ตอบลบ